วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

ไม่มีอะไรจะคุยกับเธอ - แสน นากา [Official MV]



ชอบเพราะ การที่เราทำอะไรกับเขาไปหรือทิ้งเขาไป เช่น การที่เราไปมีคนใหม่
                    แล้วเราก็ทิ้งเขาไปอย่างง่ายดาย มันจะทำให้เขาเสียใจ ทำให้เขาโกธเคือง
                    แต่พอถึงวันที่เราเสียใจกับคนใหม่ เราก็จะไม่สามารถกลับไปเอาคนเก่าคืนมาได้

วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

ข่าวสารเทคโนโลยี

Olympus เปิดตัว OM-D E-M1 รุ่นต่อของ E-5 ในร่าง micro 4/3

Olympus เปิดตัวกล้องซีรีส์ OM-D รุ่นที่สองแล้วในชื่อรุ่น OM-D E-M1 ที่ทาง Olympus เองบอกว่าไม่ได้มาแทน OM-D ตัวแรก (รหัส OM-D E-M5) แต่เป็นตัวต่อจาก E-5 กล้อง DSLR ตัวท็อปที่ขายตั้งแต่ปี 2010 นั่นเอง
ด้วยความที่ Olympus ออกตัวมาแบบนั้น OM-D E-M1 จึงมีสเปคเหนือกว่า OM-D E-M5 แทบทุกส่วน สเปคคร่าวๆ มีดังนี้ครับ
  • ใช้เซนเซอร์ m4/3 ความละเอียด 16.3 เมกะพิกเซล พร้อมชิปสำหรับโฟกัสแบบ phase detection ในตัว
  • จำนวนจุดโฟกัสทั้งหมด 81 จุด
  • ความเร็วชัตเตอร์สูงสุดที่ 1/8000 วินาที ปรับ ISO ได้ตั้งแต่ 100-25600
  • ชิปประมวลผลภาพรุ่นใหม่ TruePIC VII
  • ระบบกันสั่นในตัวแบบ 5 แกน
  • จอภาพด้านหลังขนาด 3″ ความละเอียด 1,037,000 พิกเซล รองรับการสัมผัส ปรับองศาหน้าจอได้
  • ช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์แบบเต็ม กำลังขยาย 1.3 เท่า ความละเอียด 2,360,000 พิกเซล
  • รองรับ Wi-Fi
  • น้ำหนักรวมแบตเตอรี่แล้วอยู่ที่ 497 กรัม (ไม่รวมเลนส์)
ตัวเครื่องของ OM-D E-M1 ทำจากแม็กนีเซียมอัลลอย และแม้ว่าจะมาในทรงโบราณ แต่ก็สามารถกันน้ำ กันฝุ่น กันความเย็นได้อย่างที่รุ่นท็อปควรจะเป็น รวมถึงมีปุ่มสำหรับปรับตั้งค่าให้จำนวนมาก
Olympus เปิดราคา OM-D E-M1 มาที่ 1,399 เหรียญ เฉพาะตัวเครื่องอย่างเดียว เริ่มขายกันยายนนี้
Olympus OM-D E-M1
พร้อมกับการเปิดตัว OM-D E-M1 ในวันเดียวกัน Olympus ได้เปิดตัวเลนส์เกรดโปรของ m4/3 เพิ่มอีกรุ่นคือ M.Zuiko Digital ED 12-40mm F2.8 PRO ที่สามารถกันน้ำ กันฝุ่น กันความเย็นได้เหมือนกับตัวกล้อง เริ่มขายแล้ววันนี้ด้วยราคา 999 เหรียญ
M.Zuiko Digital ED 12-40mm F2.8 PRO
ปิดท้ายด้วยความคืบหน้าของเลนส์ซูม M.Zuiko Digital ED 40-150mm F2.8 PRO เลนส์เกรดโปรอีกตัวในไลน์ m4/3 ที่กำลังพัฒนาในตอนนี้ บอกวันขายคร่าวๆ ว่าเป็นปลายปี 2014 ครับ
M.Zuiko Digital ED 40-150mm F2.8 PRO
ที่มา – Blognone dpreview 12

วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แบบทดสอบบทที่ 4 เรื่อง ซอฟต์แวร์
https://docs.google.com/forms/d/1ttpu-ii_aE_dNNsAaSE_kgjDxHnrVdRjGG17DCYlgHY/viewformคลิ๊กเพื่อทำแบบทดสอบ

วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รหัส ASCII (American Standard Code for Information Interchange)

         รหัสแอสกี เป็นรหัสที่นิยมใช้กันมาก จนสามมารถนับได้ว่าเป็นรหัสมาตรฐานที่ใช้ใน การสื่อสารข้อมูล ( Data Communications) ซึ่งจำเป็นต้องใช้รหัสการแทนข้อมูลเป็นระบบเดียวกัน เพื่อให้สามารถรับ - ส่งข้อมูลได้ในความหมายเดียวกัน รหัสแอสกีใช้เลขฐานสอง 8 หลักแทนข้อมูลหนึ่งตัวเช่นเดียวกับรหัสเอบซีดิค นั่นคือ 1 ไบต์มีความยาวเท่ากับ 8 บิต รวมทั้งมีการแบ่งรหัสออกเป็นสองส่วน คือ โซนบิตและนิวเมอริกบิตเช่นเดียวกัน




รหัส Unicode

เป็นรหัสแบบใหม่ล่าสุด ถูกสร้างขึ้นมาเนื่องจากรหัสขนาด 8 บิตซึ่งมีรูปแบบเพียง 256 รูปแบบ ไม่สามารถแทนภาษาเขียนแบบต่าง ๆ ในโลกได้ครบหมด โดยเฉพาะภาษาที่เป็นภาษาภาพ เช่น ภาษาจีนหรือภาษาญี่ปุ่นเพียงภาษาเดียวก็มีจำนวนรูปแบบเกินกว่า 256 ตัวแล้ว  UniCode จะเป็นระบบรหัสที่เป็น 16 บิต จึงแทนตัวอักษรได้มากถึง 65,536 ตัว ซึ่งเพียงพอสำหรับตัวอักษรและสัญลักษณ์กราฟฟิกโดยทั่วไป รวมทั้งสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ต่าง ๆ ในปัจจุบันระบบ UniCode มีใช้ในระบบปฏิบัติการWindow NT ระบบปฏิบัติการ UNIX บางรุ่น รวมทั้งมีการสนับสนุนชนิดข้อมูลแบบ UniCode ในภาษา JAVA ด้วย


POTSHARA POKSAKUL

P= 0111 0000
O= 0110 1111
T= 0111 0100
S= 0111 0011
H= 0110 1000
A= 0110 0001
R= 0111 0010
A= 0110 0001

P= 0111 0000
O= 0110 1111
K= 0110 1011
S= 0111 0011
A= 0110 0001
K= 0110 1011
U= 0111 0101
L= 0110 1100

วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บิตตรวจสอบ

- เลขฐานสองที่ใช้ในคอมพิวเตอร์มีอัตตราความผิดพลาดต่ำ เพราะมีค่าความไปได้0 หรือ 1เท่านั้น แต่ก็อาจจะเกิดข้อบกพร่องขึ้นได้ภายในหน่วยความจำ
- ดังนั้น บิตตรวจสอบ หรือ พาริตี้บิต จึงเป็นบิตที่เพิ่มเติมเข้ามาต่อท้ายอีก 1 บิต ซึ่งถือเป็นบิตพิเศษที่ใช้สำหรับตรวจสอบความแม่นยำและความถูกต้องของข้อมูลที่จะจัดเก็บลงในคอมพิวเตอร์

วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ยุคของคอมพิวเตอร์

      ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งออกได้เป็นยุคๆตามช่วงเวลา และมีเหตุการณ์สำคัญๆ รวมถึงจุดเปลี่ยนแปลงเด่นๆ

คอมพิวเตอร์ยุคที่  1
     ยุคนี้เริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1944 เป็นต้นมา หรือประมาณปี พ.ศ. 2494 – 2502 เทคโนโลยีที่ใช้สร้างคอมพิวเตอร์ในยุคนี้จะใช้หลอดสุญญากาศ และวงจรไฟฟ้า ซึ่งต้องใช้พลังความร้อนในขณะทำงานสูง ดังนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้จึงมีขนาดใหญ่และต้องใช้เครื่องปรับอากาศมาช่วยในการระบายความร้อน นอกจากนั้นยังมีการใช้เทปกระดาษหรือบัตรเจาะรูในการรับส่งข้อมูล สำหรับปัญหาที่เกิดในยุคนี้จะเป็นปัญหาในด้านการบำรุงรักษา และการซ่อมแซมเครื่องเพื่อให้เครื่องสามารถทำงานได้ นอกจากนั้นการใช้คำสั่งในการสั่งงานก็ค่อนข้างยาก เพราะสวนมากแล้วในการทำงานต้องสั่งงานโดยใช้ภาษาเครื่อง (Machine Language) ซึ่งจะถือเป็นภาษาระดับต่ำ รหัสคำสั่งต่าง ๆ จะจดจำค่อนข้างยาก การใช้งานคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ส่วนใหญ่จะเป็นงานทางด้านวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ส่วนงานทางด้านธุรกิจมีการเริ่มใช้ในยุคนี้เช่นกัน แต่มีการใช้ที่ค่อนข้างน้อย



คอมพิวเตอร์ยุคที่  2
  มีการนำทรานซิสเตอร์ มาใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์จึงทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลง และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มีความรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ในยุคนี้ยังได้มีการคิดภาษาเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เช่น ภาษาฟอร์แทน (FORTRAN) จึงทำให้ง่ายต่อการเขียนโปรแกรมสำหรับใช้กับเครื่อง
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 2
  • ใช้อุปกรณ์ ทรานซิสเตอร์ (Transistor) ซึ่งสร้างจากสารกึ่งตัวนำ (Semi-Conductor) เป็นอุปกรณ์หลัก แทนหลอดสุญญากาศ เนื่องจากทรานซิสเตอร์เพียงตัวเดียว มีประสิทธิภาพในการทำงานเทียบเท่าหลอดสุญญากาศได้นับร้อยหลอด ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดเล็ก ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย ความร้อนต่ำ ทำงานเร็ว และได้รับความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
  • เก็บข้อมูลได้ โดยใช้ส่วนความจำวงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic Core)
  • มีความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันของวินาที (Millisecond : mS)
  • สั่งงานได้สะดวกมากขึ้น เนื่องจากทำงานด้วยภาษาสัญลักษณ์ (Assembly Language)
เริ่มพัฒนาภาษาระดับสูง (High Level Language)ขึ้นใช้งานในยุคนี้
 


ยุคของคอมพิวเตอร์ยุคที่  3
     คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เริ่มต้นภายหลังจากการใช้ทรานซิสเตอร์ได้เพียง 5 ปี เนื่องจากได้มีการประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับวงจรรวม (Integrated-Circuit) หรือเรียกกันย่อๆ ว่า "ไอซี" (IC) ซึ่งไอซีนี้ทำให้ส่วนประกอบและวงจรต่างๆ สามารถวางลงได้บนแผ่นชิป (chip) เล็กๆ เพียงแผ่นเดียว จึงมีการนำเอาแผ่นชิปมาใช้แทนทรานซิสเตอร์ทำให้ประหยัดเนื้อที่ได้มาก 
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 3
  • ใช้อุปกรณ์ วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) หรือ ไอซี และวงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) เป็นอุปกรณ์หลัก
  • ความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านของวินาที (Microsecond : mS) (สูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1 ประมาณ 1,000 เท่า)


ยุคของคอมพิวเตอร์ยุคที่  4
     เป็นยุคที่นำสารกึ่งตัวนำมาสร้างเป็นวงจรรวมความจุสูงมาก (Very Large Scale Integrated : VLSI) ซึ่งสามารถย่อส่วนไอซีธรรมดาหลายๆ วงจรเข้ามาในวงจรเดียวกัน และมีการประดิษฐ์ ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ขึ้น ทำให้เครื่องมีขนาดเล็ก ราคาถูกลง และมีความสามารถในการทำงานสูงและรวดเร็วมาก จึงทำให้มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) ถือกำเนิดขึ้นมาในยุคนี้
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 4
ใช้อุปกรณ์ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) และ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่มาก (Very Large Scale Integration : VLSI) เป็นอุปกรณ์หลัก
มีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันล้านวินาที (Nanosecond : nS) และพัฒนาต่อมาจนมีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านล้านของวินาที (Picosecond : pS)

ยุคของคอมพิวเตอร์ยุคที่  5
       ในยุคนี้ ได้มุ่งเน้นการพัฒนา ความสามารถในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ และ ความสะดวกสบายในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างชัดเจน มีการพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กขนาดเล็ก (Portable Computer) ขึ้นใช้งานในยุคนี้
โครงการพัฒนาอุปกรณ์ VLSI ให้ใช้งานง่าย และมีความสามารถสูงขึ้น รวมทั้งโครงการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) เป็นหัวใจของการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ โดยหวังให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ สามารถวิเคราะห์ปัญหาด้วยเหตุผล
องค์ประกอบของระบบปัญญาประดิษฐ์ ประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่
1. ระบบหุ่นยนต์ หรือแขนกล (Robotics or Robotarm System)
คือหุ่นจำลองร่างกายมนุษย์ที่ควบคุมการทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ มีจุดประสงค์เพื่อให้ทำงานแทนมนุษย์ในงานที่ต้องการความเร็ว หรือเสี่ยงอันตราย เช่น แขนกลในโรงงานอุตสาหกรรม หรือหุ่นยนต์กู้ระเบิด เป็นต้น 
2. ระบบประมวลภาษาพูด (Natural Language Processing System) 
คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถสังเคราะห์เสียงที่มีอยู่ในธรรมชาติ (Synthesize) เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์ เช่น เครื่องคิดเลขพูดได้ (Talking Calculator) หรือนาฬิกาปลุกพูดได้ (Talking Clock) เป็นต้น
3. การรู้จำเสียงพูด (Speech Recognition System) 
คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์ และสามารถจดจำคำพูดของมนุษย์ได้อย่างต่อเนื่อง กล่าวคือเป็นการพัฒนาให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ด้วยภาษาพูด เช่น งานระบบรักษาความปลอดภัย งานพิมพ์เอกสารสำหรับผู้พิการ เป็นต้น
4. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ รู้จักใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ปัญหา โดยใช้ความรู้ที่มี หรือจากประสบการณ์ในการแก้ปัญหาหนึ่ง ไปแก้ไขปัญหาอื่นอย่างมีเหตุผล ระบบนี้จำเป็นต้องอาศัยฐานข้อมูล (Database) ซึ่งมนุษย์ผู้มีความรู้ความสามารถเป็นผู้กำหนดองค์ความรู้ไว้ในฐานข้อมูลดังกล่าว เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ได้จากฐานความรู้นั้น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์วิเคราะห์โรค หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ทำนายโชคชะตา เป็นต้น